วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

- ความหมายของ รัฐประศาสนศาสตร์ -




Public Administration รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ
วิชา ศาสตร์ หรือองค์ความรู้ที่มุ่งจะจัดการดูแลกิจการสาธารณะและ
ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายของนักการเมือง องค์ประกอบ
ของวิชานี้ได้แก่ การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล และการ


administration หมายถึง การบริหารรัฐกิจที่มุ่งเน้นกิจกรรม
หรือกระบวนการบริหารมากกว่าองค์ความรู้บริหารการคลัง





1. Nicholas Henry, Public Administration
and Public Affairs(Englewood Cliffs, N.J. :
Prentice-Hall, Inc., 1980), p.27

ให้ความหมายของรัฐประศาสนศาตร์ ไว้ว่า "วิชารัฐประศาสนศาตร์
มีเอกลักษณ์ เพราะมีความแตกต่างจากวิชารัฐศาตร์ ในแง่ที่ว่าเป็นวิชา
ที่ให้ความสนใจต่อการศึกษาโครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการ
รวมทั้งเป็นศาสตร์ที่มีระเบียบวิธีศึกษาเป็นของตนเอง วิชารัฐประศาสนศาตร์
ยังแตกต่างจากศาสตร์บริหารในแง่ที่ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องขององค์การของ
รัฐ ซึ่งมิได้มุ่งแสวงหากำไรดังเช่นองค์การเอกชน และเป็นวิชาที่สนับสนุน
ให้องค์การของรัฐมีโครงสร้างกลไกการตัดสินใจและพฤติกรรมของ
ข้าราชการที่เกื้อกูลให้บริการสาธารณะ "

2. Simon, Smithburg and Thompson, op.
cit,. p.7


การบริหารรัฐกิจในความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปนั้นหมายถึง
กิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนกลาง
การปกครองมลรัฐ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำคัญก็คือไม่รวมเอางาน
ของฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการเข้าไว้ด้วย


พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 678

รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยการบริหารและ
การปกครองบ้านเมืองสาขาหนึ่งที่เน้นหนักในเรื่องระบบราชการหรือ
งานที่รัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น