วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

- การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย -















ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า ในการใช้ชีวิตมีเวลาในการศึกษาเพียง 4 ปี และ ภายในมหาวิทยาลัยทุกช่วงเวลานั้นมีค่ามากมาย ทุกนาที ทุกเวลานั้นมีหลากหลายรสชาติ ประสบการณ์ที่ไม่เคยพบเจอ แต่เมื่อได้ก้าวเข้ามาสู่เป็นนักศึกษา ก้ได้เรียนรู้ไปเรื่อยๆ การเป็นนักศึกษารุ่นน้อง ชั้นปีที่ 1 ซึ่งความรู้สึกยังรู้สึกหว้าเหว่ ในความอยู่เหมือนตัวคนเดียวในสังคมที่กว้างขึ้น สังคมใหม่ๆ มากขึ้น มีพี่น้องและการได้รับความต้อนรับอย่างอบอุ่นจากรุ่นพี่ ซึ่งทำให้เห็นถึงความรัก ความสามัคคีภายใน กลุ่ม คณะ มีกิจกรรมมากมาย ให้เราได้เลือกทำ เลือกคิด ต่างๆ มีการเรียนที่แปลกใหม่ มีเพื่อนใหม่ๆ มีสังคมใหม่ๆ สังคมพี่ สังคมน้อง มากขึ้น ซึ่งการได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยทำให้เราได้เกิดความรับผิดชอบต่อตัวเอง เพื่อน การเรียน การทำงาน กิจกรรมมากมาย ทำให้เรามีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความคิดที่โตขึ้น ซึ่งการที่เราได้เรียนรู้ในมหาวิทยาลัยนี้ ก็เป็นเสหมือน บททดสอบ ให้เราได้ก้าวไปสู่ การเป็นคนดีต่อสังคมต่อไป
















วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

- แหล่งท่องเที่ยว -









อุทยานแห่งชาติภูเวียง

ข้อมูลทั่วไป

คำว่า "ภูเวียง" เป็นชื่อท้องที่อำเภอที่เก่าแก่อำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น และยังเป็นชื่อเรียกเทือกเขาซึ่งปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูเวียงให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 71 ของประเทศ
มีหลักฐานว่าป่าภูเวียงเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีอารยธรรมเมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้ว มีการขุดพบกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ โลหะสำริด พระนอนสมัยทวาราวดี รวมทั้งภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำ(หลืบเงิน)บนเทือกเขาภูเวียง นอกจากนั้นเมื่อประมาณปี 2519 มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ อายุเกือบ 200 ล้านปี
ป่าภูเวียงมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ตำบลกุด ตำบลในเมือง ตำบลบ้านโคก ตำบลเขาน้อย ตำบลขนวน ตำบลบ้านเรือ ตำบลเมืองเก่าพัฒนา ตำบลสงเปือย ตำบลนาชุมแสง อำเภอภูเวียง ตำบลวังเพิ่ม ตำบลศีสุข ตำบลนาจาน อำเภอสีชมพู และตำบลวังหินลาด ตำบลเสาเส้า ตำบลหนองไผ่ ตำบลขรัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีเนื้อที่ประมาณ 325 ตารางกิโลเมตร หรือ 203,125 ไร่

จุดเด่น

ที่น่าสนใจหลุมขุดคันไดโนเสาร์ในปี 2519 ระหว่างการสำรวจหาแหล่งแร่ยูเรเนียม นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีได้พบกระดูกหัวเข่าด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ บริเวณที่พบเป็นชั้นหินหมวดเสาขรัว จึงทำให้ประมาณอายุได้ว่าไดโนเสาร์ที่พบมีอายุประมาณ 160 ล้านปีมาแล้ว นับว่าเป็นการค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย จากนั้นเป็นต้นมา กรมทรัพยากรธรณีได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงทำการสำรวจหาร่องรอย และค้นพบซากฟอสซิลของโลกยุคโบราณในพื้นที่บริเวณทั่วๆไป พบร่องรอยและซากสัตว์ในยุคโลกล้านปีหลายแห่ง จึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น หลุมขุดค้นไดโนเสาร์ที่ 1,2,3

พระพุทธไสยาสน์

ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาภูเวียงระหว่างอำเภอชุมแพและอำเภอภูเวียง ใกล้บ้านโคกสะอาด ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นพระพุทธรูปแบบทวาราวดีปางไสยาสน์ สลักอยู่บนหน้าผายาว 3.75 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตกและหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ ปัจจุบันพระพุทธรูปยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

ถ้ำฝ่ามือแดง
ตั้งอยู่ใกล้บ้านหินร่อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอภูเวียง เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ลักษณะเป็นก้อนหินทรายขนาดใหญ่ หลืบหินลึกประมาณ 7 เมตร สูง 3 เมตร ยาว 50 เมตร ผนังมีภาพลายมือหันไปทางทิศตะวันออก เป็นภาพมือขนาดใหญ่ 7 มือ ขนาดเล็ก 2 มือ โดยวิธีเอามือทาบกับผนังหินและพ่นสีแดงเรื่อๆ สำรวจพบโดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2507 แต่ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

ถ้ำคนนอน

อยู่ใกล้น้ำตกทับพญาเสือ บ้านหินร่อง ตำบลในเมืองเก่า อำเภอภูเวียง เป็นภาพลอยเส้นโค้งหักงอต่อกับลายเส้นกากบาท 2 รูป และเป็นลายเส้นผสมกับลายจุดบนก้อนหินทรายกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 15 เมตร ภาพเขียนอยู่บริเวณหลืบหินด้านทิศใต้ เขียนด้วยสีแดงคล้ายน้ำหมาก

น้ำตกตาดฟ้า

ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากทุ่งใหญ่เสาอารามประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากบ้านโคกสูงประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูงประมาณ 25 เมตร สภาพป่าเป็นป่าดิบที่สมบูรณ์ ทางอุทยานได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับผู้ประสงค์จะพักแรม ปัจจุบันทางขึ้นเป็นทางชักลากไม้เก่า สามารถเดินทางโดยเท้า



ทรัพยากรป่าไม้



อย่างป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป




ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย



ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen) 2. ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)


ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้


หย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่.
ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนได้ศึกษาหาความรู้
4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน


การอนุรักษ์ป่าไม้


ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการเร่งด่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและ ประชาชน ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ดังนี้ 1. นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ 2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ 3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น 4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม 5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต




- ความหมายของ รัฐประศาสนศาสตร์ -




Public Administration รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ
วิชา ศาสตร์ หรือองค์ความรู้ที่มุ่งจะจัดการดูแลกิจการสาธารณะและ
ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายของนักการเมือง องค์ประกอบ
ของวิชานี้ได้แก่ การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล และการ


administration หมายถึง การบริหารรัฐกิจที่มุ่งเน้นกิจกรรม
หรือกระบวนการบริหารมากกว่าองค์ความรู้บริหารการคลัง





1. Nicholas Henry, Public Administration
and Public Affairs(Englewood Cliffs, N.J. :
Prentice-Hall, Inc., 1980), p.27

ให้ความหมายของรัฐประศาสนศาตร์ ไว้ว่า "วิชารัฐประศาสนศาตร์
มีเอกลักษณ์ เพราะมีความแตกต่างจากวิชารัฐศาตร์ ในแง่ที่ว่าเป็นวิชา
ที่ให้ความสนใจต่อการศึกษาโครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการ
รวมทั้งเป็นศาสตร์ที่มีระเบียบวิธีศึกษาเป็นของตนเอง วิชารัฐประศาสนศาตร์
ยังแตกต่างจากศาสตร์บริหารในแง่ที่ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องขององค์การของ
รัฐ ซึ่งมิได้มุ่งแสวงหากำไรดังเช่นองค์การเอกชน และเป็นวิชาที่สนับสนุน
ให้องค์การของรัฐมีโครงสร้างกลไกการตัดสินใจและพฤติกรรมของ
ข้าราชการที่เกื้อกูลให้บริการสาธารณะ "

2. Simon, Smithburg and Thompson, op.
cit,. p.7


การบริหารรัฐกิจในความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปนั้นหมายถึง
กิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนกลาง
การปกครองมลรัฐ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำคัญก็คือไม่รวมเอางาน
ของฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการเข้าไว้ด้วย


พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 678

รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยการบริหารและ
การปกครองบ้านเมืองสาขาหนึ่งที่เน้นหนักในเรื่องระบบราชการหรือ
งานที่รัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง